ศูนย์จำหน่ายกล้องจุลทรรศน์ (Microscope) ประสิทธิภาพสูง Brand OPTIKA จากประเทศอิตาลี เหมาะกับงาน Lab วิจัยทั่วไป มีให้เลือกหลายรุ่น อาทิเช่น รุ่น ST-40-2L ,รุ่น B-110, รุ่น B-159, รุ่น B-192 และ Optikam B3 อุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับถ่านภาพและบันทึกวีดีโอ พร้อมบริการหลังการขาย สินค้าทุกตัวรับประกัน 1 ปีเต็ม
asdasd
|
กล้องจุลทรรศน์ SZM-2
- MODEL: SZM-2
- HEAD : Trinocular
- Eyepieces : WF10x/20mm ( hight point )
- Objectives : Continuouns increment zoom 0,7x...4,5x
- Magnification : 7x..45x
- เป็นกล้อง Stereo 3 กระบอกตา มีกำลังขยายต่อเนื่อง 7 ถึง 45 เท่า
- หลอดไฟเป็นแบบ หลอด Halogen บน-ล่าง
|
ชนิดกล้องจุลทรรศน์
กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอ (Stereoscopic microscope)
เป็นกล้องชนิดเลนส์ประกอบ ที่ทำให้เกิดภาพ 3 มิติ ใช้ศึกษาวัตถุที่มีขนาดใหญ่ซึ่งไม่สามารถแยกรายละเอียดด้วยตาเปล่า ต่างจากกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงที่มีกำลังขยายสูงทั่วไป ดังนี้
1. ภาพที่เห็นเป็นภาพ 3 มิติ มีความชัดลึกมาก และเป็นภาพเสมือนขนาดใหญ่ มีลักษณะและ ทิศทางเหมือนวัตถุ
2. เลนส์ใกล้วัตถุมีกำลังขยายน้อยกว่า 10X
3. ระยะห่างจากเลนส์ใกล้วัตถุไปยังวัตถุอยู่ในช่วง 63-223 มิลลิเมตร
4. ใช้ศึกษาได้ทั้งวัตถุทึบแสง และวัตถุบาง โปร่งแสง เหมาะสำหรับศึกษาส่วนประกอบของ สิ่งมีชีวิต และใช้ในการผ่าตัด
5. ระบบแสงส่องบนวัตถุ ใช้ดูวัตถุทึบแสง
6. ระบบแสงแบบส่องผ่าน ใช้ดูวัตถุบาง โปร่งแสง
Light microscope (L.M.) ใช้แสงที่มองเห็นได้เป็นตัวให้ความสว่าง แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1.กล้องจุลทรรศน์แบบง่ายหรือแว่นขยาย (simple microscope or magnifying glass)
ประกอบด้วยเลนส์นูนเพียงอันเดียว วัตถุประสงค์เพื่อขยายวัตถุที่จะดูให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อที่จะได้มองเห็นชัดเจนขึ้น ภาพที่ได้เป็นภาพเสมือน และข้อสำคัญคือวัตถุต้องอยู่ห่างจากเลนส์น้อยกว่าทางยาวโฟกัสของเลนส์นั้น
2. กล้องจุลทรรศน์เชิงประกอบ (Compound microscope) เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่มีการขยายภาพ 2 ครั้ง ประกอบด้วยเลนส์ 2 ชุด คือ
- เลนส์ใกล้วัตถุ (objective lens) มีอยู่หลายอันมีกำลังขยายแตกต่างกัน อาจเป็น 10 เท่า (10x), 40 เท่า (40x) หรือ 100 เท่า (100x) เลนส์นี้ทำให้เกิดภาพจริงหัวกลับที่มีขนาดใหญ่กว่าวัตถุ
- เลนส์ใกล้ ตา (eye piece) เป็นเลนส์ที่อยู่ทางด้านบนของตัวกล้องที่ตาเราดู เลนส์นี้ทำหน้าที่ขยายภาพที่ได้จากเลนส์ใกล้วัตถุ ภาพที่ได้จะเป็นภาพเสมือนหัวกลับขยายขนาดใหญ่ที่ตามองเห็นได้ สำหรับกำลังขยายของ eye piece โดยทั่วไปอาจเป็น 10 หรือ 15 เท่า (10x หรือ 15x)
ส่วนประกอบต่างๆของกล้องจุลทรรศน์ชนิด Compound Microscope
1. ฐาน (Base) เป็นส่วนที่ใช้ในการตั้งกล้อง ทำหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมดของกล้องจุลทรรศน์
2. ลำกล้อง (Body) เป็นส่วนที่เชื่อมอยู่ระหว่างเลนส์ใกล้ตากับเลนส์ใกล้วัตถุ ทำหน้าที่ป้องกันการรบกวนจากแสงภายนอก
3. แขน (Arm) เป็นส่วนยึดลำกล้องและฐานไว้ด้วยกัน เป็นตำแหน่งที่ใช้จับเวลาเคลื่อนย้ายกล้องจุลทรรศน์
4. แท่นวางวัตถุ (Specimen stage) เป็นแท่นสำหรับวางสไลด์ตัวอย่างที่ต้องการศึกษา มีลักษณะเป็นแท่นสี่เหลี่ยมตรงกลางมีรูให้ลำแสงจากหลอดไฟส่องผ่านไปยังวัตถุ ที่ต้องการศึกษา แท่นวางวัตถุนี้สามารถเลื่อนขึ้นเลื่อนลงได้
5. แท่นวางวัตถุ (Specimen Stage) เป็นบนแท่นวางแผ่นสไลด์ ที่ต้องการศึกษา
6. ปุ่มปรับภาพหยาบ (Coarse adjustment) เป็นปุ่มขนาดใหญ่ ใช้ในการปรับหาระยะภาพ
7. ปุ่มปรับภาพละเอียด (Fine adjustment) เป็นปุ่มขนาดเล็ก ทำหน้าที่ในการปรับภาพให้ชัดเจนมากขึ้น
8. เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective lens) เป็นเลนส์ขยายภาพที่อยู่ใกล้วัตถุ มีกำลังขยายต่างกัน กล้องแต่ละอันจะมี 3 เลนส์ คือ
- เลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายต่ำ (Lower power) กำลังขยาย 4X, 10X
- เลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายสูง (High power) 40X
- เลนส์ใกล้วัตถุแบบ Oil Immersion ขนาด 100X
- ภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุจะเป็นจริงหัวกลับ
9. เลนส์ใกล้ตา (Ocular lens หรือ Eyepiece lens) ทำหน้าที่ขยายภาพที่ได้จากเลนส์ใกล้วัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ภาพที่ได้จะเป็นภาพเสมือนหัวกลับ
10.จานหมุน (Revolving nosepiece) ใช้หมุนเมื่อต้องการเปลี่ยนกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ
11.เลนส์รวมแสง (Condenser) จะอยู่ด้านใต้ของแท่นวางวัตถุ ทำหน้าที่รวมแสงให้เข้มขึ้นเพื่อส่งไปยังวัตถุที่ต้องการศึกษา
12.แหล่งกำเนิดแสง (Iluminator) เป็นหลอดไฟที่ให้กำเนิดแสงส่องผ่านวัตถุ
13.ไอริส ไดอะแฟรม (Iris diaphragm) อยู่ใต้เลนส์รวมแสงทำหน้าที่ปรับปริมาณแสงให้เข้าสู่เลนส์ในปริมาณที่ต้องการ
|